วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556


เริ่มต้นกับ Bujinkan budo taijutsu 



"อยากเรียนวิชานี้มาก ทำอย่างไรดี" เป็นคำถามที่ผมได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และผลที่เกิดขึ้นทุกครั้งคือ
"คนที่โทรมาสอบถามไม่เคยมาเรียน และคนที่มาเรียนไม่เคยโทรมาสอบถาม"
จริง ๆ แล้วจุดเริ่มต้นนั้นง่ายมาก ๆ คือ มาฝึก

จากประสบการณ์ที่มีตั้งแต่เริ่มฝึกจนถึงปัจจุบัน เจอความเปลี่ยนแปลงมาพอสมควร 
ผมเริ่มต้นฝึกตั้งแต่ประมาณปี 1999 ซึ่งถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นปีแรก ๆ ที่มีการเปิดสอน Bujinkan budo taijutsu 

สมัยนั้น Internet ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงเหมือนในสมัยนี้ การเดินทางก็ต้องถือว่าสมัยนี้สบายกว่า  การหาข้อมูลในวิชาใดวิชาหนึ่งนั้น ถึงได้ว่ายาก ซึ่งเราไม่มีทางทราบได้ว่าวิชานั้น ๆ จะเป็นอย่างไร นอกจากไปฝึก โดยห้องที่ใช้ฝึกในขณะนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน  แต่ก็ยังมีผู้ที่สนใจเข้าเรียนอย่างต่อเนื่องแม้กระทั่งคนต่างชาติก็ยังเดินทางมารับการฝึก การเปิดสอนก็เป็นการเปิดสอนที่อาจารย์ผู้สอนต้องการเผยแพร่วิชา ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้ ที่มี Internet พร้อมกับการเดินทางที่สะดวกสบาย อยากทราบว่าวิชาไหนเป็นอย่างไรก็หาดูเอาได้ตาม Internet การเปิดสอนก็มีรูปแบบที่แตกต่างไปเน้นไปทางธุรกิจก็มาก เปิดสอนทั้งที่ยังไม่มีคุณสมบัติก็มาก 


ซึ่งนี้เป็นจุดหนึ่งที่ผู้ที่คิดอยากจะฝึกหรือผู้เข้าฝึกใหม่ๆ นั้น เปลี่ยนแปลงไป 

  • ตั้งคำถามเยอะ ผลสุดท้ายก็ไม่ได้มาฝึก 
  • คิดว่าตัวเองรู้เยอะ เพราะดูจาก Internet ผลสุดท้ายก็ไม่ได้มาฝึก 
  • ขาดความอดทน เพราะสมัยนี้อะไรก็สะดวกไปหมด เลยไม่ทราบว่าการขวนขวายไปฝึกด้วยความลำบากมันมีผลตอบแทนที่น่าชื่นใจอย่างไร ผลสุดท้ายก็ไม่ได้มาฝึก
  • แยกไม่ออกระหว่างยิมกับโรงฝึก จึงแยกไม่ออกระหว่างการจ่ายเงินมาเรียนกับความเคารพที่ต้องมีต่ออาจารย์และรุ่นพี่ ซึ่งเป็นมารยาทต้น ๆ สำหรับโรงฝึก ผลสุดท้ายก็ไม่ได้มาฝึก
จากที่เล่ามาข้างต้นต้องถือว่าผมก็เป็นผู้โชคดีคนหนึ่ง ที่กล้าที่จะเริ่มต้น และหาสิ่งที่ตนเองชอบ เข้ารับการฝึกมาได้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้  จึงอยากจะฝากบอกกับใครหลาย ๆ คน ว่าควรเอาความสะดวกสบายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ และหากต้องการมาฝึกจริง ๆ ก็ควรมาค้นหาคำตอบโดยการฝึก ไม่ใช่แค่ตั้งคำถามและตอบตัวเองจาก You tube 

Start-practice


วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556


Bujinkan กับความเข้าใจผิด Bujinkan คืออะไร 

บทความนี้เขียนไว้นานแล้วก็เอามาลงให้อ่านกัน


หลังจากได้มีโอกาสเปิดทำการสอนมาได้สักระยะหนึ่ง ได้รับโทรศัพท์ สอบถามอยู่เป็นประจำ และ คำถามที่นิยมถามกันก็คือ แล้ว Bujinkan เป็นยังไง
ซึ่งผู้เขียนก็พยายามอธิบายหลายต่อหลายครั้ง แต่หลัง ๆ ผู้เขียนมักจะตอบว่า มาฝึก เดี๋ยวก็รู้ แต่ถึงกระนั้นคำถามนี้ก็ยังมีอยู่เรื่อย ๆ
วันนี้ผู้เขียน เลย นำมาเล่าและอธิบายดูสักหน่อย (ซึ่งเป็นมุมมองของผู้เขียน ซึ่งอาจจะถูกหรืออาจจะผิดก็ได้)

ก่อนอื่น ในไทย ศิลปะการต่อสู้ และ ศิลปะการป้องกันตัว คนไทยส่วนมากแยกไม่ออก
จนหลัง ๆ เรียก รวม ๆ กันไปซะเลยว่าศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ก็ในประเทศไทยอีกนั้นแหละ (ยังไม่เคยไปประเทศอื่นๆ )
ที่รู้จักกันส่วนมากก็ ยูโด, ไอคิโด้, คาราเต้, เทควันโด พอได้ยินคำว่า Bujinkan ปุ๊บก็เลยเกิดข้อสงสัยขึ้นมาทันที

A “อ้าวแล้วบูจินกันคืออะไร แล้วมันเป็นยังไง”
B “Bujinkan คือศิลปะการต่อสู้ครับ มีการฝึกอาวุธ การใช้ ร่างกาย ควบคุม หักล๊อค อะไรหลายๆ อย่างโดย Bujinkan มี ทั้งหมด 9 ryu หาอ่านร่ายละเอียดใน web ได้ครับ ”
A “แล้วศิลปะการต่อสู้เป็นยังไง เหมือน ๆ ไอคิโด้ คาราเต้ ประมาณนี้หรือครับ”
B “ไม่ใช่ครับ Bujinkan ก็คือ Bujinkan”
A “ก็เห็นมีทั้ง ควบคุม เตะต่อย ก็ประมาณ เอาหลาย ๆ วิชามารวมกันใช่เปล่าครับ”
B “ไม่ใช่ครับ Bujinkan ก็คือ Bujinkan”
A “ อา ครับ ๆ”
A “เออ แล้ว Bujinkan กับ Ninjutsu นี้อันเดียวกันหรือเปล่าครับ
B “ ครับ เมื่อก่อนเคยใช้ชื่อ Ninjutsu แต่ภายหลังเพื่อไม่ให้เป็นการเข้าใจผิด ก็เลยใช้ชื่อ Bujinkan”
A อ้อ เข้าใจแล้ว ก็คือนินจา แล้วฝึกหายตัวได้จริง หรือเปล่าครับ”
B ……………………………

สำหรับผู้ฝึกหรือบุคคลทั่วไปหลาย ๆ คน มักเข้าใจผิดอย่างที่บทสนทนาด้านบน

จุดหลัก ๆ ที่จะแสดงถึง Bujinkan ได้ดีก็คือแนวคิด (ในความเห็นของผู้เขียน) เพราะจะไปอธิบายท่าที่ฝึกกับคนที่ไม่ได้ฝึกก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี
ขนาดอธิบายกับคนที่ฝึกมาสักพักบางคนยังไม่เข้าใจ ว่ามันต่างกับอันอื่นๆ ยังไง
ในปัจจุบันนี้ ในหลาย ๆ วิชา ได้ถูกพัฒนาไปในแนวทาง ต่าง ๆ กัน
ทั้งการพัฒนาออกไปในรูปแบบเพื่อการกีฬา โดยมีการนำกติกามาจับ นำเอาการแข่งขันเข้ามา
ลดความรุนแรงลง การฝึกต่าง ๆ ก็เน้นเพื่อไปใช้ในการแข่งขัน (ทำอะไรก็ไม่ได้เพราะต้องคอยระวังกติกาฝึกบ่อยๆ เข้าก็ติด) อันนี้ก็ออกแนว Sport
บ้างก็ฝึกเพื่อเน้นในการป้องกันตัว อันนี้ก็เป็นไปในแนวการ ฝึกศิลปะป้องกันตัว นี้ก็อีกหนึ่งแนวทาง
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในแต่ละวิชาไม่ว่าจะพัฒนาไปในทางใด ก็มีแนวทางและแนวคิดของวิชานั้น ๆ
แต่สำหรับ Bujinkan เป็นการฝึกเพื่อให้เข้าใจตนเอง ฝึกเพื่อเข้าถึงแนวทางของบูโด
Bujinkan ไม่มีการแข่งขัน เพราะเราไม่ใช่กีฬา เราไม่มีการสอบเลื่อนสาย เพราะเราต้องฝึกจนเข้าใจ
เห็นว่าทำได้ เข้าใจแล้วควรจะได้ในระดับใด ฝึกแค่เพียงท่าเดียวแต่ความเข้าใจไม่เหมือนกันยังทำได้ไม่เหมือนกัน หรือเพียงแค่เปลี่ยนคู่แล้วใช้ท่าเดิมก็ยังทำได้ไม่เหมือนเดิม

สำหรับบุคคลที่เข้ามาฝึกในเบื้องต้น (หรือฝึกมานานแล้วแต่ก็ยังไม่อยากจะเข้าใจ) หรือเพียงแค่เข้ามาเห็น
หรือเพียงแค่เข้าไปดูใน youtube เห็นเพียงผิวเผินเห็นท่าไม่กี่ท่า ก็มักด่วนสรุปกันไปเองว่า ว่าท่าคล้าย ๆ กัน น่าจะเอาหลาย ๆ อย่างมารวมกัน
(หากดูใน 9 ryu ของ bujinkan ก็จะเห็นได้ว่า 6 ryu เป็นของ Samurai อีก 3 Ryu เป็นของ Ninjutsu )
หากไม่ได้เข้ามาฝึก ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าความแตกต่างคืออะไร หากเข้ามาฝึกแล้วไม่เปิดใจรับ
หรือคิดว่าตัวเองทำได้แล้วก็ยังยึดติดอยู่กับของเดิม ก็ยังไม่ทราบได้ว่า ความแตกต่างคืออะไร

ผู้เขียนอยากพยายามอธิบายให้เข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่ฝึก ก็ไม่สามารถเข้าใจได้แน่นอนว่า
Bujinkan ก็คือ Bujinkan นั่นเอง
แนะนำตนเอง


เริ่มต้นด้วยความสนใจใน ศิลปะการต่อสู้ จึงเริ่มต้นด้วยการฝึกศิลปะการต่อสู้ที่รู้จักกันทั่วไปในประเทศไทยซึ่งสมัยก่อนหน้านี้มีไม่กี่วิชาที่เป็นที่รู้จัก และต่อมาภายหลังได้มีโอกาสฝึก Jujitsu และท้ายสุดก็มีโอกาสได้เข้าฝึก Bujinkan budo taijutsu จนถึงปัจจุบันนี้