วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

How to train in bujinkan


เริ่มต้นชื่อเรื่องแบบนี้ เพราะได้มีโอกาสได้อ่านบนความอยู่บทความหนึ่ง ใน  Bujinkan Magazine ซึ่งน่าจะหลายปีแล้ว ของ Shidoshi Chris Carbonaro แล้วมีประโยคหนึ่งเขียนไว้ว่า
This art is only for those who seek it out.
This is not commercial art.
เป็นประโยคที่ผมคิดว่าน่าจะตอบคำถามได้หลาย ๆ อย่างสำหรับหลาย ๆ คนที่สนใจในบูจินกันและแม้กระทั่งผู้ฝึกที่กำลังฝึกอยู่
         ก่อนหน้านี้ประมาณกลางปีผมได้มีโอกาสไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้ารับการฝึก (วันหลังผมจะมาเล่าให้ฟัง) หลังจาก Trip นั้นผมได้พบอะไรหลาย ๆ อย่างซึ่งทำให้มุมมองจากเดิมที่มีกลับเปลี่ยนไป และทำให้ผมยิ่งเข้าใจประโยคนี้มากขึ้น
     
        การฝึกบูจินกันในโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย สิ่งแรก ๆ ที่คุณจะต้องเจอคือการฝึก Junan Taiso, Ukemi, Taisabaki  กล่าวง่าย ๆ คือการฝึกการม้วนหน้า ม้วนหลัง และการล้มต่าง ๆ เพื่อใช้ป้องกันการบาดเจ็บ และเรียนรู้พื้นฐานต่าง ๆ เช่นท่ายืน (kamae) และ Kihon happo และ Sanshin no kata รวมถึง Hanka และเทคนิคต่าง ๆ จาก Tenchijin Ryaku No Maki ตั้งแต่ผู้ฝึกทั้งในระดับต้น และผู้ฝึกในระดับสูงขึ้นมาก็ยังฝึกกันอยู่ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ฝึกที่อยู่ในระดับก่อนสายดำยิ่งควรรู้และเข้าใจพื้นฐานที่กล่าวมา

เมื่อได้สายดำขั้นที่ 1 แล้ว นั้นหมายถึงคุณพร้อมที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ 

         เมื่อเข้าใจในพื้นฐานที่กล่าวมาแล้ว ในบูจินกันยังมีอีก 9 สายวิชาให้ฝึก ฟังดูแล้วอาจจะเหมือนไม่เยอะ แต่อย่างน้อยผู้ฝึกหลายคนกว่าจะได้สายดำขั้นที่ 1 ใช้เวลาถึง 5 ปีก็มี และหลังจากที่ผมประสบพบเจอมาหลังจากกลับจากประเทศญี่ีปุ่นนั้นสรุปได้เลยว่าเป็นวิชาที่จะต้องเรียนรู้กันทั้งชีวิต เพราะอาจารย์ที่สอนเราก็ยังคงฝึกอยู่ ซึ่งแน่นอนเราไม่มีทางตามทัน

กล่าวมาถึงจุดนี้ ผมก็สามารถบอกได้ว่า "How to train in bujinkan"(Thailand)  แต่แน่นอนคนที่ไม่เคยเข้ารับการฝึกไม่ทราบแน่นอนว่าที่กล่าวมาฝึกอย่างไร และแน่นอนคุณจะรู้ได้ก็เมื่อเข้ารับการฝึกแล้วเท่านั้น และแน่นอนกว่านั้นคุณจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อคุณเข้ารับการฝึกไปสักระยะเป็นระยะเวลานานพอสมควรเท่านั้นเช่นกัน  แต่อย่างน้อยสำหรับคนที่คิดจะเริ่มฝึกจะได้ทราบและทำใจพร้อมที่จะเข้าฝึกเพราะ "This art is only for those who seek it out"

อ้าว! ยังเหลืออีกประโยค
คิดดูง่าย ๆ ครับ กว่าอาจารย์จะสามารถทำการเปิดสอนได้ ใช้เวลากี่ปี และปัจจุบันอาจารย์ยังเข้าฝึกอยู่ การฝึกในสมัยเริ่มต้นในประเทศไทยไม่มี มีแต่ที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เริ่มต้นที่อาจารย์ ค่าฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งละ 1000 บาท และเปิดสอนในไทยมาเป็นเวลานับ 10 ปี ซึ่งนับจากเริ่มต้นจนปัจจุบันก็ยังคง Concept เดิมคือ

"โรงฝึกนี้ตั้งใจจะเปิดขึ้นเพื่อผู้สนใจในวิชานินจุสสึที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ในด้านธุรกิจ โดยได้รับแรงบรรดาลใจจากอาจารย์มาซึอะกิ ผู้ที่เป็นเจ้าสำนักของบูจินกัน และ อาจารย์ชิราอิชิซึ่งเป็นชิฮันประจำตัวทำให้โรงฝึกนี้ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับผู้ที่สนใจฝึกวิชานินจุสสึ หรือ บูโด ไทจุสสึที่แท้จริง "

แค่นี้สำหรับผมชัดเจนครับสำหรับคำว่า This is not commercial art.

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Bujinkan Thailand กับกิจกรรมสิ้นปี 2556



ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมส่งท้ายปี 2556

สำหรับปีนี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งถึงแม้สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้อาจจะเป็นอุปสรรคในการเดินทางบ้าง แต่ก็มีสมาชิกเข้ารับการฝึกกันอยู่เยอะพอสมควร โดยกิจกรรมปีนี้เหมือนกับทุก ๆ ปี ซึ่งคือเข้ารับการฝึกและช่วยกันทำความสะอาดโรงฝึก ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฎิบัติ ที่ดี ซึ่งยังคงการปฏิบัติกันมา

ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่กับโรงฝึกมานานพอสมควร  ซึ่งเห็นความแตกต่างและการเติบโตของโรงฝึกตั้งแต่อตีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับปีนี้เป็นอีกปีที่ดี มีหลายอย่างเปลี่ยนแปลง


  • เรามีกลุ่มฝึกเปิดขึ้นใหม่ ทั้งกลุ่มฝึกหลักสี่, กลุ่มฝึกชิดลม และคาบเกี่ยวไปจนถึงปีหน้าที่จะมีกลุ่มฝึกสมุทรปราการและกลุ่มฝึกฉะเชิงเทรา เปิดขึ้นอีก ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการฝึก (ข้ออ้างน้อยลงสำหรับการเดินทางหรือวันที่เปิดสอน)
  • เรามีการเปิด คอร์สสอนสำหรับเด็กอายุประมาณ 12 ปี เพื่อขยายโอกาสให้กับผู้ที่สนใจ
  • เรามีผู้ฝึกได้เดินทางไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น 
  • เรามีผู้ฝึกที่ได้รับการเลื่อนสายตามความสามารถและอื่นๆ อีกมากมาย
  • เรามีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น จากจำนวนไม่ถึง 10 คน จนปัจจุบันฝึกครั้งหนึ่ง ประมาณ 30-40 คนก็มี


ซึ่งเป็นพัฒนาการเป็นไปในแนวทางที่ดี และยังคงยึดถือแนวทางปฏิบัติในรูปแบบที่เป็นมา ซึ่งเกิดจากการสร้างสมและสั่งสอนที่ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง การสอนซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว แต่รวมถึงแนวทางการปฏิบัติตน ปรัญชา แนวคิดต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกรวมอยู่ในคำว่า "โรงฝึก"

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จริงหรือปลอม สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกเรียน



เมื่อหลายอาทิตย์ก่อนผมได้มีโอกาส เข้าชมงานแสดงศิลปะการต่อสู้ (Embu) จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการสาธิต ศิลปะการต่อสู้ชนิดต่าง ๆ โดยผู้สาธิตเป็นนักศิลปะการต่อสู้จากประเทศญี่ปุ่น
สำหรับผมถือว่าเป็นงานที่หาดูยาก หลังจากการสาธิตจบลง ก็ได้ข้อคิดหลาย ๆ อย่างจากงานนี้
อย่างน้อย ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ของจริง เป็นอย่างไร

ซึ่งการที่จะเลือกเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอะไรสักอย่าง อย่างแรกที่ควรพิจารณาคือจุดนี้
หากเริ่มต้นด้วยการเข้าเรียนในโรงฝึกที่ปลอม จะมีข้อเสียตามมาอีกหลายอย่าง ทั้งเสียเงิน เสียเวลา และรวมถึงความปลอดภัย ซึ่งโรงฝึกประเภทนี้มักไม่มีความใส่ใจในผู้ฝึก

ปัจจุบันการเปิดสำนักหรือการตั้งตนเองเป็น Soke มีเกิดขึ้นมากมาย หลายอย่างที่ควรยึดถือ ถูกลืมเลือนไป

  • แนวความคิดที่ถูกต้องที่ควรยึดถือ กลับไม่ได้รับการถ่ายทอด 
  • การอยู่แต่ในความฝัน ของทั้งผู้เปิดสอนและผู้เข้ารับการสอน 
  • การไม่ใส่ใจของผู้ที่จะเข้ารับการฝึก่ในการตรวจสอบหรือหาข้อมูล 
นินจัสสึ ก็เป็นอีกวิชา ที่มีผู้แอบอ้าง ไม่ใช่น้อย 
ดังนั้น เป็นหน้าที่สำคัญของผู้ที่จะเข้ารับการฝึกที่จะต้องตรวจสอบให้ดี ผมมีบทความหนึ่ง ซึ่งอาจารย์เอกเป็นผู้เขียนไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณา 

บทความที่นำมานี้เป็นบทความที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี หากผู้ที่ต้องการเข้ารับการฝึกศึกษาให้ดี ก็เป็นผลประโยชน์กับตัวผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเองอย่างแน่นอน 


วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อคิดจากอาจารย์



ข้อคิดจากอาจารย์


"ปัจจุบันการแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ทเป็นที่แพร่หลาย ไม่ว่าตามเวปบอร์ด หรือ social network ซึ่งที่พบเจอมีทั้งผลดีและผลร้ายปะปนกันไป ผลดีก็อย่างเช่นการทำให้คนได้รับข้อมูลมากขึ้น
การเผยแพร่แนวคิดที่ถูกต้องออกไป แต่ผลร้ายก็มีเช่น การให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง จากคนที่ไม่รู้ หรือฝึกฝนมาเพียงเล็กน้อย
ในบูจินกันสิบกว่าปีผ่านมาตั้งแต่มีการเริ่มใช้อินเตอร์เน็ท อาจารย์มะซะอะกิจะบอกให้ระมัดระวัง
การให้ข้อมูล หรือ การตอบคำถาม เพราะการตอบคำถามโดยส่วนมากเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว
ไม่ได้มาจากโรงฝึก ซึ่งบางครั้งอาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับแนวทางของโรงฝึก แต่ทำให้ความเข้าใจของคนทั่วไปคลาดเคลื่อนว่าเป็นความเห็นของโรงฝึกได้ ซึ่งคนที่ให้ข้อมูลผิดไปก็มักไม่ได้รับผิดชอบกับข้อมูลของตนเท่าไร
ดังนั้นหากมีข้อสงสัยในบูจินกันมีคำกล่าวอยู่ว่า สำหรับนักเรียนผู้ฝึกที่มีปัญหาสงสัยให้ “ask your sensei” หรือ ถามผู้สอนไม่ใช่ใช้การคาดเดาด้วยตัวเอง เพราะมีเรื่องอีกมากที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ เช่น กฏระเบียบหรือข้อห้ามต่าง ๆ

ขอให้สมาชิกทั้งใหม่และเก่าทำความเข้าใจในเรื่องนี้ด้ว"