วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

Good leader in bujinkan




หลายวันก่อนได้อ่าน บทความบทหนึ่งเกี่ยวกับการเป็นผู้นำแปลคร่าว ๆ ได้ประมาณนี้


"ผู้นำที่ดี  คือผู้ืที่สามารถพัฒนาตนเอง และช่วยให้ผู้อื่น สามารถพัฒนาตนเองได้
 แต่การเป็นผู้นำที่ดีกว่า คือพัฒนาให้ผู้อื่น สามารถเป็นผู้นำได้ด้วย "

ในบูจินกันเองก็เช่นเดียวกัน

     ศิลปะการต่อสู้หลาย ๆ วิชานั้น มักมีการแบ่งระดับสายให้กับผู้เข้ารับการฝึก สำหรับบูจินกันเองก็เช่นกัน มีระดับก่อนสายดำ 9 ลำดับ และลำดับสายดำอีก 15 ลำดับ คนทั่วไปส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับการฝึกเห็นว่าได้สายดำก็เข้าใจว่าเก่งแล้ว แต่จริง ๆ นั้นไม่ใช่ เพราะอย่างที่ทราบสายดำยังแบ่งอีก 15 ลำดับ
ยกตัวอย่างวิชาทั่วไปที่คนไทยเรารู้จักกันส่วนใหญ่แล้วการแบ่งระดับสายเนื่องจากมีการปรับรูปแบบการสอนการฝึกโดยให้มีการสอบเพื่อวัดผล เริ่มต้นจากลำดับสายสีขาว และเมื่อสอบได้ขั้นต่อไปก็จะได้สายสีต่าง ๆ จนถึงในระดับสายดำ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ และเมื่อได้สายดำในระดับหนึ่งแล้วก็จะได้รับอนุญาตให้สามารถทำการเปิดสอนต่อไปได้ นี้อาจจะเป็นเหตุผลทั่วไปหลัก ๆ ที่หลายคนเข้าใจ
      แต่สำหรับบูจินกัน นั้นมีความหมายมากกว่านั้น ในบูจินกันบูโดไทจุสสุนั้น มีการสอบอยู่เพียงระดับเดียว คือการขึ้นสายดำระดับ 5 ที่เรียกว่า Sakki Test โดยต้องได้รับการทดสอบจาก Shihan หรือสายดำระดับ 15 ที่ อาจารย์ มาซาฮะกิ เจ้าสำนักลำดับที่ 34 อนุญาตเท่านั้น การขึ้นสายในลำดับอื่นๆ ก็เป็นการให้โดยการพิจารณาจากอาจารย์ผู้ฝึกสอน และสำหรับผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้ทำการเปิดสอนนั้นต้องได้รับการรับรองจากระดับสายที่สูงขึ้นไป
     จุดประสงค์หลักของการให้สายของบูจินกันนั้นคือผู้ที่ได้รับสายนั้นต้องสืบทอดวิชา การสอนโดยแนวทางที่ถูกต้องต่อไปได้ ไม่ได้มองเพียงแค่สามารถทำท่าใด ท่าหนึ่งได้ อาจารย์จึงจะพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ อย่างซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถวัดโดยใช้การสอบได้ หนึ่งในนี้ตัวอย่างง่าย ๆ คือ เป็นคนดี ดังนั้นอาจารย์ผู้ฝึกสอนจึงไม่ได้สอนเพียงแค่วิชา แต่จะสอนแนวทางที่ถูกต้อง สอนการปฏิบัติตัว สอนให้ฝึกฝนในสิ่งต่าง ๆ นอกเหนือจากการฝึกเทคนิคเพียงอย่างเดียว เพื่อที่ต่อไปจะสามารถเป็นผู้นำได้ สามารถถ่ายทอดวิชาในแนวทางที่ถูกต้องเหมือนที่เคยได้รับมาได้ และสอนให้คิดเป็นเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ยังคงสามารถถ่ายทอดวิชาให้เป็นปัจจุบันได้
    นี้คือประเด็นของข้อความที่ยกตัวอย่างมาทางด้านบน ที่เห็นได้ชัดเจนคือบูจินกันในปัจจุบัน การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจนมีการเปิดสอนไปทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงบูจินกันไทยแลนด์ด้วยเช่นกัน








วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Training Trip in japan-ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ไม่ได้เขียนมาหลายเดือน วันนี้ขอมาเล่าประสบการณ์ต่อสักหน่อย

เริ่มต้นบทความนี้ด้วยการไปฝึกที่ ญี่ปุ่นนั้นไม่สบายอย่างที่คิด สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า เหนื่อย ก่อนหน้านี้เคยคิดว่าการที่ อาจารย์ไปเข้ารับการฝึกนั้นสบาย แต่จากที่ได้ไปปรากฏว่าผิดคาด ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปฝึกที่ Kashiwa ถ้าจำไม่ผิดนั่งรถไฟไปใช้เวลาเกือบชั่วโมง แล้วยังต้องเดินต่อเพื่อเข้าไปที่สถานะที่ฝึกอีกเกือบชั่วโมง ดังนั้นความคิดเปลี่ยนทันทีว่า กว่าอาจารย์จะได้รับสายดำระดับสูงขนาดนี้ต้องเดินทางเท่าไหร่ไม่ใช่สบายอย่างที่คิด นี้คือความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแรก

สิ่งต่อไปที่อยากจะแชร์คือ การฝึกวันแรกที่โรงฝึกใหญ่ (Hombu) เป็น Class ของ อาจารย์ ชิราอิชิ เมื่อเข้าไปอาจารย์ยิ้มและต้อนรับอย่างจริงใจซึ่งเป็นความรู้สึกแรกที่สามารถรับรู้ได้ นี้คือความเข้าใจอย่างที่ถูกต้องอย่างที่สองว่าการวางตัวเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสไม่ได้วางตัวแบบอาจารย์ดุ ๆ อย่างที่จินตนาการไว้ แต่ก็เป็นที่เคารพของผู้เข้าฝึกทุกคน

      เมื่อเริ่ม Class ทำการเคารพคามิดานะตามธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งเหมือนกันทั่วโลกรวมถึงโรงฝึกบูจินกันประเทศไทยด้วย หลังจากนั้นอาจารย์ชิราอิชิเริ่มทำการสอน ท่าแรกที่เห็น การเคลื่อนไหวปกติ ดูง่าย ๆ   คิดว่าจำได้ไม่น่ายาก โดยอาจารย์จะเรียกทุกคนเพื่อเข้าไปเป็นคู่ นั้นหมายความว่าเราสามารถเห็นท่านั้นได้หลายครั้งมาก ๆ ยิ่งควรจะทำตามได้ นั้นคือความรู้สึกแรกที่เห็น แต่เมื่อทำการเข้าคู่เพื่อทำการฝึกจริงปรากฏว่าไม่เป็นอย่างที่คิด ก้าวขาไม่ออกสิ่งที่เราเห็นว่าเคลื่อนไหวง่าย ๆ นั้นกลับเป็นสิ่งที่ยากมาก สิ่งที่คิดว่ารู้ ที่เรียนมาแล้วเหมือนจะถูกตั้งค่าใหม่ ว่าที่จริงแล้ว Ego ที่มีอยู่หรือที่คิดว่าทำได้นั้นไม่ใช่เลย นี้คือความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างที่สาม   ก่อนจะไปถึงส่วนต่อไปผมขออธิบายเพิ่มเติมกับคำศัพท์ที่จะใช้นั้นคือ "Ukemi"  Ukemi คือเทคนิคการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อใช้สำหรับป้องกันการบาดเจ็บต่าง ๆ เช่นการม้วนหน้า ม้วนหลัง การตบเบาะ เป็นต้น นึกภาพง่าย ๆ ครับ ว่าหากถูกคู่ต่อสู้หักแขนสิ่งที่ทำได้อาจจะต้องม้วนหน้า หรือหากถูกทุ่มก็ใช้การตบเบาะเพื่อลดหรือกระจายแรงเพื่อให้ไม่เกิดการบาดเจ็บนั้นเอง
      ในส่วนต่อมาเมื่อเห็นท่าต่อไปที่อาจารย์ชิราอิชิสอน โดยอาจารย์ยังคงเรียกทุกคนเพื่อเข้าไปเป็นคู่ ตามปกติก็จะเป็นสายระดับสูงก่อนที่จะเข้าไปเป็นคู่ให้กับอาจารย์ชิราอิชิ สำหรับคราวนี้ผมเริ่มสังเกตเห็นเพิ่มเติมว่าท่าเดียวกันการเคลื่อนไหวซึ่งเหมือนเป็นปกติไม่ได้แตกต่างกันสำหรับทุกคนที่อาจารย์เรียกไปเป็นคู่แต่ทำไมกับสายระดับสูงนั้นดูเหมือนจะ Ukemi ได้ยากมากเห็นลอยอยู่สูงจากพื้นพอสมควรแต่ก็สามารถลงพื้นได้อย่างปลอดภัย เมื่อเทียบกับตนเองแล้วเหมือนกลิ้งมากกว่าใช้การ Ukemi  แล้วความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างที่สี่และห้า ก็ตามมา หลังจากที่เริ่มซ้อมต่อไป นั้นคือไม่เพียงแต่ความรู้ในการฝึกเท่านั้น ที่ไม่สามารถมองการเคลื่อนไหวหรือจุดเล็ก ๆ ที่แตกต่างและรับความรู้สึกนั้นที่อาจารย์ถ่ายทอดให้สำหรับสายระดับสูงกับสายระดับเราได้แล้ว แต่รวมไปถึง Ukemi หรือการป้องกันตัวเองจากการบาดเจ็บด้วยที่ยังคงไม่ดีพอ ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะทำได้เหมือนสายดำระดับสูงนั้นเอง แต่จากที่เล่ามา ถือว่าโชคดีที่เริ่มต้น Class แรกที่ประเทศญี่ปุ่นนี้ อาจารย์เอกได้ให้ไปเป็นคู่ด้วยจึงได้รับการสอนเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางจึงสามารถพอจะเริ่มที่จะทำความเข้าใจได้
     นี้เป็นเพียงบางส่วนของการเข้ารับการฝึก ที่อยากจะถ่ายทอดว่าจริง ๆ แล้วความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่การจะเข้าใจได้นั้นเกิดจากการที่เราพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่และพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง หากเราสามารถเห็นคิดได้แบบนี้การไปเข้ารับการฝึกถึงประเทศญี่ปุ่นสำหรับใครหลาย ๆ คนก็จะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

Training Trip in Japan -Preface

Training Trip in Japan -Preface


สำหรับผมการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรก

ซึ่งได้อะไรหลาย ๆ อย่าง ตั้งแต่เริ่มทริปจนจบทริป ฟังดูเหมือนจะ Review การไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น 55 อันนี้มีคนไปเที่ยวเขาทำเยอะแล้ว สู้เขาไม่ไหว

เลยนำเสนอแบบฉบับสำหรับ Bujinkan ดูบ้าง 


Bujinkan budo taijutsu นั้นเป็นชื่อสำนักที่สอน Ninjutsu ที่มี 9 สายวิชา ทั้งในส่วน Ninjutsu และ การต่อสู้โบราณอื่นๆ ซึ่งลำดับขั้นของผู้ฝึกแบ่งหลัก ๆ เป็นระดับก่อสายดำ และ ระดับสายดำขึ้นไป ซึ่งมีอีก 15 ขั้น โดยหลัก ๆ ก็เริ่มตั้งแต่ขั้น 5 ที่ต้องเข้ารับการสอบที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
และนี้คือสาเหตุที่ต้องเดินทางไปในครั้งนี้
สำหรับรายละเอียดอื่นๆ อยากจะอธิบายเพิ่มเติมแต่ไว้คราวหลัง ตอนนี้หาอ่านเอาได้ที่ www.bujinkan-thailand.com

สำหรับบทความนี้ คงมีหลาย Part เพราะมีสิ่งที่อยากจะเล่าถึงแนวคิดและสิ่งที่ได้ ซึ่งมีค่อนข้างเยอะ แต่สำหรับบทความนี้ ถือเป็นสารบัญไปก่อน เพราะสิ่งที่อยากอธิบายนั้นก็เพื่อ

อยากให้เป็นแรงบันดาลใจ, 
จุดมุ่งหมาย, 
เป้าหมาย หรืออะไรก็แล้วแต่

สำหรับผู้ฝึกที่ยังฝึกอยู่ , สำหรับผู้ฝึกที่จะต้องเดินทางไป, สำหรับผู้ฝึกที่ควรจะต้องเดินทางไป, สำหรับผู้ฝึกใหม่, และสำหรับผู้ที่คิดว่าอยากฝึกแต่ยังมีข้อแม้อยู่