วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Training trip in japan 2015

Training trip in japan 2015


           อีกครั้งกับการไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่น บทความที่ตั้งใจเขียนตั้งแต่ครั้งก่อนยังได้ไม่ครบ คราวนี้ถึงรอบที่จะต้องเดินทางไปฝึกอีกรอบแล้ว ยกยอดมารวมกันครั้งนี้ หลังจากที่กลับมาแล้วกัน
สำหรับครั้งนี้ มีสมาชิกที่่ร่วมเดินทางเพื่อเข้าฝึกจากโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย อีก 5 คน ซึ่ง สำหรับคราวนี้มีสมาชิกที่จะเข้ารับการสอบระดับ 5 (Go Dan) หลายคน ซึ่งก็คงคิดว่าคงสามารถสอบผ่านได้ หวังว่า เอาไว้ว่าง ๆ จะมาเล่าถึงการสอบระดับ 5 เช่นกันยกเอาไว้หลังจากกลับมาแล้วกันครับ

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Attitude of Mind

Attitude of Mind 

        เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ผมได้อ่านกระทู้ใน Website อยู่กระทู้หนึ่ง ใจความสำคัญง่าย ๆ คือไปเรียนทำขนมกับ โรงเรียนที่เปิดสอน เมื่อเรียนจบก็มาทำการเปิดสอนโดยคิดราคาที่ถูกกว่า เจ้าของกระทู้มา Post ถามว่าเขาทำผิดอะไร ในกระทู้นั้น มีการแสดงความเห็นหลากหลาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มง่าย ๆ คือไม่ผิดเพราะไม่ได้มีข้อตกลงกันเอาไว้(ไม่ได้ทำสัญญานั้นเอง) และอีกกลุ่มหนึ่งคือผิด เพราะเอามาสอนทั้ง ๆ ที่สูตรที่เรียนมานั้นไม่ได้ดัดแปลงอะไรเลย ถ้ามองในแง่มุมของธุรกิจคงตัดสินโดยใช้หลักการ ต่าง ๆ มากำหนดมากมาย เช่น กฎหมาย, ลิขสิทธิ์ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งผมคงไม่ตัดสินอะไรเพียงแต่เอามาเป็นตัวอย่างเพื่อขยายความคิดผมเท่านั้น

สำหรับมุมมองผมในประเด็นเดียวกันแต่ในหลักการของนักศิลปะการต่อสู้แล้ว สำหรับผมตัดสินได้ไม่ยาก 

              ปัจจุบันทั้งศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ (Gendai budo) หรือ ศิลปะการต่อสู้โบราณ (Ko budo) หลายๆ วิชาจะมีการแบ่งลำดับสายให้แก่ผู้ฝึกซึ่งขึ้นอยู่กับว่าแต่ละวิชาจะมีกฎเกณฑ์อะไร และเมื่อได้ลำดับสายในระดับหนึ่งตามที่กำหนดก็จะสามารถไปทำการเปิดสอนได้ ขึ้นอยู่กับในแต่ละวิชาว่าจะมีกฎอะไรเพิ่มเติมซึ่งล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์ในกฎที่ตั้งมานั้น ๆ ในบูจินกัน ก็เช่นกัน โดยหลัก ๆ ข้อกำหนดในการเปิดสอนนั้นก็คือ ผู้สอนที่มีระดับสายดำระดับ 5 เป็นต้นไปถึงจะมีสิทธิ์ในการเปิดโรงฝึก และในระดับที่ต่ำกว่าขั้น 5 ลงไปสามารถเปิดเป็นกลุ่มฝึกและต้องมีสายดำระดับที่สูงกว่าขึ้นไปรับรอง แต่ที่มีมากกว่านั้นสำหรับผมอีกหนึ่งกฎเกณฑ์ง่าย ๆ คือ  ii kokoro แปลง่าย ๆ คือ คนที่มีจิตใจดี มาสืบทอด มองแล้วเป็น กฎเกณฑ์ง่าย ๆ แต่ยากสำหรับหลาย ๆ อย่าง จริง ๆ อาจารย์เอก ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับความหมายของคำนี้เอาไว้อย่างละเอียดแล้ว ซึ่งผมคงไม่สามารถมาขยายความได้เพิ่มเติมอีก แต่หากพูดถึงในส่วนของการเป็นลูกศิษย์จะดีกว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับที่ผมเอาเรื่องข้างต้นมาเป็นตัวอย่าง ง่าย ๆ แบบนี้ครับ
พร้อมหรือยังที่เอาสิ่งที่เรียนมาไปสอน      ขออนุญาตหรือยังกับการนำสิ่งที่ได้รับมาไปสอน
ในตัวอย่างข้างบนอาจจะไม่เป็นเรื่องผิดเลยก็ได้หากขออนุญาตก่อน(แต่ต้องยกเรื่องของธุรกิจออกไป) อ่านมาตรงนี้หลายคนอาจจะมองออก หลายคนอาจไม่ สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อจริง ๆ แล้วคือจิตใจ การเรียนศิลปะการต่อสู้เป็นสายใยระหว่าง อาจารย์ กับ ศิษย์ ดังนั้น การสืบทอดในสิ่งต่าง ๆ จากลูกศิษย์ถึงอาจารย์ รวมถึงการถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ลูกศิษย์นั้นมักเกิดจากจิตใจที่ดีรวมไปถึงความถูกต้องซึ่งต้องถ่ายทอด สั่งสม ให้เกิดแนวความคิดที่ถูกต้องนั้น ๆ ด้วย ซึ่งสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จริง ๆ แล้วหลักการในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่และใช้เฉพาะศิลปะการต่อสู้เท่านั้น การใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้มักถูกมองข้าม แม้จะเป็นศิลปะการต่อสู้เองก็ตาม เรามักเห็นการถ่ายทอดหรือการนำมาสอนที่ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้นเลยปัจจัยส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะแนวความคิดที่มีธุรกิจมาเกี่ยวข้อง จากตัวอย่างข้างบนคงไม่เป็นอันตราเพราะสอนทำขนม แต่สำหรับศิลปะการต่อสู้นั้นไม่ใช่ การสอนในสิ่งที่ไม่รู้ ไม่พร้อม ไม่ถูก รังแต่จะเป็นผลร้ายต่อคนที่รับการถ่ายทอดไป

บทความ ii kokoro ที่อาจารย์เขียนไว้
http://shingitaiblog.blogspot.com/2013/09/ii-kokoro.html